Geospatial Segment Anything Model (GeoSAM) : Case Study at Chulalongkorn University งานวิจัยการใช้แบบจำลองการแยกแยะทุกสิ่งอย่างเชิงภูมิปริภูมิในการสกัดข้อมูลรอยพิมพ์ฐานอาคาร ร่วมกับการเปรียบเทียบผลลัผธ์กับข้อมูลรอยพิมพ์ฐานอาคารที่เปิดให้ใช้โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายในปัจจุบัน กรณีศึกษาอาคารในคณะวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ส่วนหนึ่งของงานวิจัย เทพชัย ศรีน้อย ถิรวัฒน์ บรรณกุลพิพัฒน์ และ ไพศาล สันติธรรมนนท์ (2567) "การสกัดข้อมูลรอยพิมพ์ฐานอาคารจากภาพออร์โธจริงด้วยแบบจำลองการแยกส่วนทุกสิ่งเชิงภูมิปริภูมิ" วารสารวิศวกรรมสารฉบับวิจัยและพัฒนา วารสารวิศวกรรมสารฉบับวิจัยและพัฒนา ปีที่ 35 ฉบับที่ 2 เดือน เมษายน – มิถุนายน พ.ศ. 2567 https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/eit-researchjournal/article/view/252584
คำแนะนำของผม ทำ text prompt ก่อนแล้วเก็บตกทีละหลังด้วย point prompt
ขอขอบพระคุณ การไฟฟ้านครหลวง สำหรับชุดข้อมูลภาพ true orthophoto ในโครงการระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์แบบจำลอง 3 มิติ แบบเสมือนจริง ด้วยระบบการถ่ายภาพจากอากาศยานไร้คนขับ Digital Twin by GIS MEA
เทพชัย ศรีน้อย, ภาควิชาวิศวกรรมสำรวจ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2567